วิธีการเลือกงานที่เหมาะกับการนำ RPA มาใช้

สวัสดีครับ บทความในวันนี้มาในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกงานที่เหมาะกับการทำ RPA กันนะครับ เพราะเนื่องจากอาจจะมีงานจำนวนมากที่อยากจะนำเอามาทำ RPA แต่เราจะเลือกกันอย่างไรว่างานไหนควรนำมาทำ งานไหนไม่ควรนำมาทำ โดยตัวแปรหลักๆที่เอามาเป็นเกณฑ์คือเรื่องความซับซ้อน และ ประโยชน์ที่ได้รับหรือหมายถึงชั่วโมงในการทำงานหากให้คนมาทำงานนี้

โดยจะมีทั้งหมด 4 รูปแบบนั่นก็คือ
1. Quick Win หมายถึงความซับซ้อนน้อย แต่ประโยชน์ที่ได้เยอะ อันนี้ตรงไปตรงมาเลยครับว่าเหมาะกับการนำ RPA มาใช้อันดับแรกๆก่อนเลย เพราะมีความซับซ้อนน้อย ใช้เวลาพัฒนาไม่มาก แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จำนวนมาก
2. Low-hanging fruits หมายถึงความซับซ้อนน้อย แต่ประโยชน์ที่ได้น้อยเช่นกัน ซึ่งอันนี้จะเสียเปรียบในด้าน Quick Win ในด้านประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งอาจจะตรวจสอบเพิ่มเติมได้ว่างานที่ใช้นี้มีงานไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง หรือคล้ายคลึงกันบ้าง ทำให้มีโอกาสที่จะรวมให้งานมีขนาดใหญ่ขึ้นแต่ไม่ซับซ้อน แล้วทำประโยชน์ได้เยอะเหมือน quick win
3. Must-Have หมายถึงความซับซ้อนมาก แต่ประโยชน์ที่ได้เยอะมากเช่นกัน ในกรณีนี้จะใช้เวลาพัฒนานาน จึงควรจะมีกระบวนการตรวจสอบงานอีกครั้งเพื่อลดความซับซ้อนออกไป เช่นตัดงานไม่จำเป็น ควบรวมงานให้น้อยลงและง่ายขึ้นเป็นต้น
4. Hand off หมายถึงซับซ้อนมากแต่ประโยชน์ที่ได้น้อย อันนี้ไม่เหมาะกับการใช้พัฒนาด้วย RPA ครับ

วันนี้ก็พอรู้หลักกการเลือกงานที่เหมาะกับการนำ RPA มาใช้งานกันนะครับ หากมีคำถามส่วนไหนพูดคุยกันได้ใน Facebook Page Ping2Share ได้นะครับ แล้วพบกันใหม่สวัสดีครับ