เรามาต่อด้วยการใช้ Conditional formatting แบบเชิงลึกขึ้นกันเลยดีกว่าครับ
โดยปกติเวลาเรากำหนดเงื่อนไข เราจะกำหนดเทียบกับค่าใดค่าหนึ่ง แต่รู้หรือไม่ครับว่า เราสามารถกำหนดในรูปแบบสูตรได้ด้วย จะเป็นอย่างไรเชิญชมได้เลยครับ
Condition formatting โดยเงื่อนไขเป็นสูตร
เราสามารถกำหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนสีโดยไม่ขึ้นกับค่าใดค่าหนึ่ง
โดยใช้เป็นสูตร Excel แทนก็ได้ครับ
ตัวอย่างคือ หากมีค่ามากที่สุดให้เปลี่ยนเป็นสีแดง และหากมีค่าน้อยที่สุดให้เปลี่ยนเป็นสีเขียว
1. ลากคลุมช่วงข้อมูลที่ต้องการ
2. เลือกเมนู Home > Conditional formatting > Highlight Cells Value > Equal To…
3. ใส่สูตร MAX(F4:Q4) เพื่อบอกว่าจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเมื่อค่าเท่ากับค่ามากที่สุดจากช่วง F4:Q4
4. ทำเหมือนข้อที่ 2-3 แต่ทำเพิ่มในส่วนเงื่อนไขที่เป็นน้อยที่สุด โดยใช้สูตร MIN(F4:Q4)
เพื่อกำหนดว่าให้เปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อค่าเท่ากับค่าน้อยที่สุดของช่วง F4:Q4
เราก็จะได้ Conditional formatting ที่มีเงื่อนไขที่ว่า
ถ้าค่ามากสุดเป็นสึแดง น้อยที่สุดเป็นสีเขียวเรียบร้อยครับ
Conditional formatting โดยเปลี่ยนสีทั้งแถว
โดยปกติแล้วการเปลี้ยนสีจะเปลี่ยนเฉพาะช่องใดช่องหนึ่ง
แต่เราสามารถเปลี่ยนสีแบบทั้งแถวได้เมื่อตรงเงิ่อนไข โดยวิธีการก็คือ
1. เลือกช่วงข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการ
2. เลือก Home > Conditional Formatting > New Rule…
3. คลิกเลือก Use a formula to determine which cells to format
4. กำหนดเงื่อนไข ตัวอย่างคือ ต้องการเปลี่ยนสีทั้งแถวเมื่อ Category คือ Beverages
จึงใส่สูตรได้ว่า $B2=”Beverages”
5. กดปุ่ม Format แล้วเลือกรูปแบบสีที่ต้องการ
6. ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 2-5 สำหรับ Category อื่นๆ เช่น Candy แต่สูตรยังต้องเทียบด้วยเซลล์ที่เป็นบรรทัดแรกของช่วงข้อมูล นั่นก็คือช่อง $B2 จึงเขียนสูตรได้ว่า =$B2=”Candy”
เรียบร้อยครับ เราก็จะได้หน้าตาดังนี้ครับ Beverages ให้แถวเป็นสีเหลือง Candy เป็นสีแดง และ Snack เป็นสีฟ้า
เป็นอย่างไรบ้างครับ Tip and trick วันนี้ จริงๆแล้วเมื่อเราเปลี่ยนเงื่อนไขจากค่าคงที่มาเป็นสูตรแล้ว จะทำให้การทำ Conditional formatting มีความยืดหยุ่นสูงมากๆ เอาไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายสถานการณ์เลยครับ หากใครทำแล้วติดปัญหาอย่างไร สามารถพูดคุยกันใน Page ได้นะครับ
No Comments